top of page

มารู้จักกับสายตาเอียงกันเถอะ
สายตาเอียง (ASTIGMATISM)  เกิดจากความผิดปกติของกระจกตาหรือเลนส์ตาที่ช่วยในการหักเหแสง มีลักษณะไม่โค้งกลม หรือมีความโค้งไม่เท่ากัน หรือมีรูปร่างผิดไปจากเดิม จึงทำให้เกิดจุดหักเหของแสงมีมากกว่าหนึ่งจุด ทำให้การมองเห็นสิ่งต่างๆ เป็นภาพเบลอ มองอักษร ตัวเลขไม่ชัด เห็นเงาซ้อน หรือผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง และสามารถเกิดร่วมกับภาวะปัญหาสายตาชนิดอื่นด้วยเสมอ เช่น สายตาสั้น และสายตายาว ดังนั้น สายตาเอียงเพียงอย่างเดียวจะพบได้น้อย

แองเคอ 1
astigmatism-compare-09erer.jpg

สายตาเอียง

ซึ่งสายตาเอียงนั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้


1. CURVATURE ASTIGMATISM 
เกิดจากความโค้งของกระจกตาที่ผิดปกติ หรือมีรูปร่างผิดไปจากปกติ ไม่ว่าจะเป็น โค้งเป็นวงรี หรือรูปไข่ เกิดได้ทั้งในแนวตั้ง และแนวนอน ซึ่งอาจเป็นมาแต่กำเนิด หรือเกิดเองในขึ้นภายหลัง

 1.1    สายตาเอียงแต่กำเนิด
เป็นผลมาจากแรงกดของเปลือกตาด้านบนต่อลูกตา ทำให้ความโค้งในแนวตั้งมากกว่าแนวนอนเล็กน้อย ดังนั้น สายตาเอียงชนิดนี้ ถือว่าเป็นภาวะปกติ แต่หากเกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่
1.2    สายตาเอียงที่เกิดขึ้นภายหลัง
สามารถพบได้จากการเป็นโรคต่างๆ หรือเกิดการกระทบกระเทือนถึงกระจกตา เช่น แรงกดจากตากุ้งยิงหรือก้อนเนื้ออื่นๆ ที่เปลือกตากดทับจนรูปร่างของเลนส์แก้วตาให้ผิดปกติ รวมถึงการเกิดอุบัติเหตุที่กระจกตา หรือหลังการผ่าตัด

2. INDEX ASTIGMATISM
คือ ความแตกต่างของค่าดัชนีหักเหของแสง (REFRACTIVE INDEX) ในเลนส์แก้วตา ซึ่งอาจทำให้เห็นภาพบิดเบี้ยวไปจากความเป็นจริงได้ ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมที่มักนอนตะแคงดูโทรทัศน์ ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ช่วยในการมองนั้น  ทำงานไม่เท่ากันในแต่ละแนว ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะสายตาเอียงได้ในขณะนั้น และอาจส่งผลต่อเนื่องได้ในผู้ป่วยบางราย


สายตาเอียง_2wsewe.jpg

4 สัญญาณอาการสายตาเอียง
- เห็นเป็นภาพเบลอ หรือผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง ทำให้ต้องคอยหรี่ตาบ่อยๆ
- มองอักษร ตัวเลขไม่ชัด เห็นเงาซ้อน
- เห็นแสงสีขาวกระจายฟุ้ง
- ปวดหัวเมื่อต้องเพ่งมองสิ่งในสิ่งหนึ่งในระยะเวลานาน

bottom of page