top of page

เบาหวาน

เป็นโรคที่พบได้บ่อย และสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยก็มีแต่จะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ล่าสุด...มีการสำรวจพบว่ามีประชากรไทยมากกว่า 3 ล้านคนที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติกับเนื้อเยื่อ และอวัยวะในร่างกาย รวมถึง ดวงตา ซึ่งเรามักเรียกอาการนี้ว่า โรค เบาหวานขึ้นตา นั่นเอง

 

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy)

เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เส้นเลือดที่จอประสาทตา (Retina) ได้รับความเสียหายจากน้ำตาลอุดตันทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ ในช่วงแรกอาจไม่พบอาการ หรือมีการมองเห็นผิดปกติเพียงเล็กน้อย แต่หากปล่อยไว้ และไม่รับการรักษาจนมีอาการรุนแรง อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด

แองเคอ 1

เบาหวานขึ้นตา

ar-ss.jpg

อาการของโรค เบาหวานขึ้นตา
ในระยะแรกของโรคเบาหวานขึ้นตา อาจจะยังไม่พบอาการ หรือความผิดปกติในการมองเห็น แต่เมื่อมีความรุนแรงมากขึ้น จะพบอาการต่างๆ เช่น
- มองเห็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา
- มองเห็นภาพบิดเบี้ยว
- ตามัว การมองเห็นแย่ลง สายตาไม่คงที่
- แยกแยะสีได้ยากขึ้น
- ภาพที่มองเห็นมืดเป็นแถบๆ
- สูญเสียการมองเห็น

ba3221545698.jpg

สาเหตุของโรคเบาหวานขึ้นตา
เบาหวานขึ้นตาเกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลานาน ส่งผลให้เส้นเลือดฝอยที่ไปหล่อเลี้ยงจอตาโป่งพองเป็นหย่อมๆ จากผนังหลอดเลือดผิดปกติ ทำให้เลือดและน้ำเหลืองซึมออกมาจากหลอดเลือด กระจายทั่วจอประสาทตา และเส้นเลือดใหญ่ที่จอตาจะเริ่มขยายตัวใหญ่ขึ้นผิดปกติ รวมถึงเส้นใยประสาทของจอตาและจุดภาพชัด (Macula) อาจเริ่มมีอาการบวม ในระยะเริ่มแรกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย แต่หากมีการอุดตันของเส้นเลือด ที่เพิ่มมากขึ้นอาจทำให้มีอาการรุนแรงได้เมื่อหลอดเลือดที่จอประสาทตาเสียหาย ร่างกายก็จะสร้างหลอดเลือดใหม่มาทดแทน แต่หลอดเลือดที่สร้างใหม่มีผนังไม่แข็งแรง ฉีกขาดได้ง่าย ทำให้มีเลือดรั่วซึมออกมาที่บริเวณวุ้นตา และอาจทำให้เกิดแผลเป็นซึ่งเป็นสาเหตุให้จอตาลอกออกจากด้านหลังของดวงตา หรือถ้าหากเส้นเลือดใหม่ที่เกิดขึ้นไปแทรกแซงการระบายน้ำออกจากลูกตา ส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ส่งภาพจากดวงตาไปยังสมอง ก็จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต้อหินได้
มีปัจจัยมากมายที่เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นตา เช่น ระยะเวลาของการเป็นโรคเบาหวาน ยิ่งเป็นนานก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง การไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือ อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ เป็นต้น

bottom of page