top of page
ยาว.jpg
แองเคอ 1

สายตายาว

สายตายาว (Hyperopia)

คือ ภาวะกำลังหักเหแสงของตาผิดปกติ โดยผู้ที่มีสายตายาวจะมีลูกตาเล็กหรือกระจกตาแบนเกินไป ทำให้ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะใกล้ได้ชัดเจน แต่มองเห็นวัตถุในระยะไกลได้ชัดเจน หรืออาจเห็นไม่ชัดทั้งระยะใกล้และระยะไกล ซึ่งสายตายาวในทางการแพทย์หมายถึง อาการสายตายาวที่เกิดตั้งแต่อายุยังน้อยยังไม่ถึงวัยสูงอายุ และสายตายาวที่เกิดขึ้นเมื่อถึงวัยสูงอายุ (อายุ 40 ปีขึ้นไป) เรียกว่า สายตาผู้สูงอายุ (Presbyopia)

5cac5845b5603c1000f4128e_800x0xcover_niXAFK-E.jpg

อาการสายตายาว
อาการที่พบบ่อยของผู้ที่สายตายาว ได้แก่
- มองเห็นวัตถุระยะใกล้ได้ไม่ชัด เช่น อ่านหนังสือ หรือร้อยด้ายกับเข็ม
- เกิดอาการไม่สบายตาหรือปวดศีรษะจากการที่ต้องใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือวาดภาพ
- มองภาพไม่ชัด โดยเฉพาะในเวลากลางคืน
- ปวดศีรษะ เนื่องจากกล้ามเนื้อตาทำงานหนักเกินไปจากการโฟกัส มักจะปวดบริเวณหน้าผาก

และจะมีอาการมากขึ้นเมื่อใช้สายตามากขึ้น มักไม่มีอาการในตอนเช้า แต่จะปวดศีรษะในตอนเย็น และถ้างดใช้สายตามองระยะใกล้ อาการปวดก็จะหายไป
- ปวดตาหรือบริเวณรอบดวงตา
- แสบตาหรือตาสู้แสงไม่ได้ 
- ต้องหรี่ตาเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน
- มองใกล้ไม่ชัดเร็วกว่าวัยอันควร หรือมีอาการของสายตาผู้สูงอายุเร็วกว่าคนทั่วไป โดยคนทั่วไปจะมีภาวะสายตาผู้สูงอายุเมื่อมีอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่ผู้ที่มีสายตายาวอยู่ก่อนแล้วอาจจะเกิดภาวะสายตาสูงอายุเร็วขึ้น โดยในระยะแรกการมองใกล้ไม่ชัดมักเกิดเมื่อร่างกายอ่อนล้าหรือเมื่อแสงไม่พอ

bottom of page