top of page

ตาเหล่ (Strabimus) 
คือปัญหาเกี่ยวกับมองเห็นอย่างหนึ่ง ซึ่งตาทั้ง 2 ข้างไม่มองไปในทิศทางเดียวกัน เกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงแรกเกิดและเป็นเด็กเล็ก หากเกิดในผู้ใหญ่จะทำให้เห็นภาพซ้อน (Diplopia) และถ้าเกิดกับเด็กจะนำไปสู่ภาวะตาขี้เกียจ (Amblyopia) ซึ่งการทำงานของสมองจะไม่รับและแปรผลข้อมูลจากภาพของตาข้างที่อ่อนแอกว่ามองเห็น

แองเคอ 1

สาเหตุของตาเหล่
กล้ามเนื้อที่อยู่รอบดวงตาแต่ละข้างทำงานร่วมกัน เพื่อช่วยให้ดวงตาทั้ง 2 ข้างสามารถมองสิ่งของสิ่งเดียวกันหรือมองไปในทิศทางเดียวกันได้ ผู้ที่ตาเหล่นั้นเกิดจากการที่กล้ามเนื้อรอบดวงตาไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ส่งผลให้ดวงตาข้างหนึ่งมองของสิ่งหนึ่งอยู่ ส่วนตาอีกข้างมองไปที่ของอีกสิ่งหนึ่ง เมื่อภาพที่รับรู้ผ่านดวงตาแต่ละข้างถูกส่งไปยังสมอง จะทำให้สมองสับสน และสำหรับเด็กเล็ก สมองอาจไม่รับรู้หรือไม่แปรผลของภาพที่ส่งมาจากดวงตาที่อ่อนแอกว่า

ตาเหล่

0207181517994990highlight.jpg

ตาเขออกนอก (Exotropia)

คือภาวะที่ดวงตาเคลื่อนมองออกด้านข้าง มักเกิดขึ้นตอนนอนหลับฝันกลางวันหรือเหนื่อยล้า โดยจะเกิดเป็นระยะ ๆ และเกิดถี่ขึ้นไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ หากดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่สามารถทำงานประสานกันได้เมื่อต้องมองสิ่งที่อยู่ใกล้ ๆ โดยตาข้างใดข้างหนึ่งเบนออกนอกก่อน เรียกว่าภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนกำลัง (Convergence Insufficiency)

ตาเหล่ขึ้นบน (Hypertropia) และตาเหล่ลงล่าง (Hypotropia)

ลักษณะตาเหล่ทั้ง 2 อย่างนี้เกิดจากการที่แกนสายตามองขึ้นบนหรือลงล่างอยู่ตลอดเวลา โดยเรียกลักษณะของตาเหล่ตามทิศทางที่ดวงตาถูกตรึงให้มอง จัดเป็นอาการตาเหล่ที่พบได้น้อยกว่าตาเหล่แบบมองออกข้างหรือเคลื่อนมาชนกัน มักเกิดกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่แล้ว อาการตาเหล่ลักษณะนี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งของศีรษะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อตา Superior Oblique

สาเหตุของตาเหล่

bottom of page